หน้าเว็บ

สารอันตรายที่นิยมใส่ในเครื่องสำอางค์

          ก่อนอื่นมารู้จักกับสารอันตรายที่ผู้ผลิต (เห็นแก่ตัว) นิยมใส่ในครีมเพื่อให้หน้าขาวใส ไร้สิว เนียน เด้ง กันนะคะ หลัก ๆ แล้วมีอยู่ 3 ตัวด้วยกัน
1. ไฮโดรควิโนน (Hydroquinone)
          ใช้กันมากในเครื่องสำอางค์ป้องกันฝ้า ออกฤทธิ์ลดการสร้างเมลานินเพียงชั่วคราว หากหยุดใช้จะกลับเป็นอย่างเดิมหรือเป็นมากกว่าเดิม
2. ปรอทแอมโมเนีย (Ammoniated Mercury)
          มักผสมในครีมหน้าขาวเพื่อลดการสร้างเมลานิน หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้เกิดการแพ้ ผิวหน้าดำ ผิวบาง เกิดพิษทำให้ทางเดินปัสสาวะและไตอักเสบ มีการสะสมปรอทในผิวหนังและดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิต ทำให้ตับ ไตพิการ เป็นต้น
3. สเตียรอยด์  (Steroids)
          สเตียรอยด์ไม่ได้ไปรักษาเพียงแต่เข้าไป "กดภูมิ" พูดง่ายๆคือมันทำให้หายเจ็บ หายแพ้เพราะมันไปกดภูมิคุ้มกันไว้ สิวอักเสบ สิวแพ้จึงหายอย่างรวดเร็ว ปัญหามันจึงเกิดเมื่อเราหยุดใช้ คือ หากกินหรือฉีดเป็นเวลานาน ฮอร์โมนในร่างกายจะทำงานผิดเพี้ยน , ตัวบวม ขนขึ้นตามร่างกายบริเวณที่ใช้สเตียรอยด์ , เกิดอาการผิวหน้าบาง หลังการใช้ยาสเตียรอยด์ 2-4 สัปดาห์ฤทธิ์ยาจะทำให้ผิวหนังเกิดการบาง ตัวยาจะทำให้กระบวนการสร้างคอลลาเจนเสียไป ผลที่สังเกตได้คือ เกิดรอยแตก รอยแยกบนผิวหนัง , เกิดสิวสเตียรอยด์ ซึ่งเป็นสิวเม็ดเล็กๆคล้ายผื่นเป็นปื้นๆ อ่านเพิ่มเติ่มที่นี้


ครีมจากโรงงาน ราคาถูก ไม่มีการควบคุมการผลิตที่ดี ( สีเหมือนสีทาบ้านยังไงยังงั้น )

          ในปัจจุบันธุรกิจครีมบนอินเตอร์เน็ตผุดขึ้นเหมือนดอกเห็ด ทั้ง ๆ ที่การผลิตครีมดี ๆ มีคุณภาพเหมือนเคาเตอร์แบรนด์ซักชิ้นไม่ใช่เรื่องง่าย รวมถึงต้นทุนที่สูง บรรดาผู้ผลิตหัวใสจึงเลือกที่จะลดต้นทุนการผลิตโดยใส่สารอันตรายเหล่านี้ลงไป เนื่องจากถูกและเห็นผลไว โดยไม่คำนึงถึงความปลอดยภัยของผู้บริโภคเลยแม้แต่น้อย
          ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของผู้บริโภคที่ต้องเลือกแล้วเลือกอีก คัดแล้วคัดอีก กว่าจะได้ครีมที่ดีและปลอดภัยมาครอบครอง แต่ ... บางครั้งความผิดพลาดก็เกิดขึ้นได้เสมอจากกรณีที่มีลูกค้าคนนึงออกมาแฉครีมเซตหน้าใสของพริตตี้ชื่อดัง จนเป็นกระแสจนถึงทุกวันนี้ อ่านเพิ่มเติมที่นี้
          ผู้ประกอบการบางรายนิยมนำส่วนผสมที่ดีไปผสมกับสารปรอท ไฮโดรควิโนน และสเตียรอยด์ เพื่อลดต้นทุนการผลิต เพราะส่วนผสม Whitening ที่มีคุณภาพอย่างเช่น Alpha-arbutin นั้น มีีราคาสูงมาก ซึ่งเมื่อโจทย์ของผู้บริโภคคือต้องการของถูกและเห็นผลเร็ว จึงเป็นช่องว่างให้ผู้ประกอบการเหล่านี้กระทำการดังกล่าว 
          และยังมีอีกตัวที่ต้องระวังคือ " ครีมกวนมือ " ซึ่งเป็นครีมที่ผู้ประกอบการซื้อครีมจากแหล่งต่าง ๆ แล้วนำมาผสมเอง โดยไม่ได้ควบคุมคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญและไม่ได้ทำในห้องแล็ปคุณภาพ ซึ่งสิ่งที่มักจะสังเกตเห็นได้คือ เมื่อทิ้งไว้นานสัก 1 เดือน ครีมจะแยกน้ำแยกเนื้อ และบรรจุภัณฑ์สีเปลี่ยนหรือผุกร่อน 
          ครีมเหล่านี้ต้นทุนจะถูกมากแต่ขายแพงมากและคนขายไม่กล้าใช้เอง เพราะรู้ว่าในนั้นมีอะไรและเป็นอย่างไร  และบสงที่เขาจะต้องขายถูกเพราะของจะเสื่อมเร็วจึงต้องรีบขายออกไปเร็ว ราคาจึงเป็นจุดสำคัญที่จะทำให้ระบายของได้เร็วนั่นเอง
          ฉลากไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างแต่มันสามารถใช้สืบสาวหาแหล่งที่มาได้เมื่อมีอะไรเกิดขึ้นกับคุณ ดังนั้นคุณไม่ควรเอาฉลากเป็นที่ตั้งค่ะ ควรจะพิจารณาหลาย ๆ อย่างประกอบกันและดูว่าเค้ายินยอมพร้อมให้คุณตรวจสอบได้มากน้อยเพียงใด บริสุทธิ์ใจเพียงใด แต่ที่จริงที่สุดเลยก็คือ ถ้าของไม่ดี คนขายจะไม่ใช้เองค่ะ เพราะคนขายคือคนที่รู้ดีที่สุดว่า ของที่ตัวเองเองมาขายนั้นเป็นอย่างไร

ครีมหน้าตาแบบนี้อันตรายแน่ ๆ !
การทดสอบสารไฮโดรควีโนด้วยผงซักฟอก
1.ครีมที่มีสารอันตรายจะทำให้เป็นเนื้อเจลใส ๆ ไม่ได้ ( แต่ไม่ได้หมายความว่าครีมเนื้อขุ่นทุกตัวจะอันตรายนะคะ แต่ให้มั่นใจว่าครีมที่เป็นเจลใส ๆ ไม่อันตรายแน่นอน )
2.มีสีสันสดใส ฉูดฉาด ( ครีมที่ผสมสารลงไปจะมีสีเข้มน่ากลัว จึงต้องเติมสีสันลงไปเพื่อปกปิดสีเดิมของครีม )
3.ใช้แล้วขาวใส ผิวเรียบเนียน สิวหายใน 3 วัน 7 วัน หรือข้ามคืน
4.อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง
5.เลิกใช้แล้วเกิดเอฟเฟคบนใบหน้า ( อาทิ สิวเห่อขึ้นเต็มหน้า มีผื่นแดง ผิวด่าง )

วิธีทดสอบสารอันตรายในครีมเบื้องต้น
ปรอท ต้องใช้ชุดทดสอบจากกรมวิทย์ฯเท่านั้น
ไฮโดรควีโน ทดสอบโดนการนำครีมต้องสงสัยมาป้ายลงบนกระดาษทิชชู่ จากนั้นนำผงซักฟอกผสมน้ำให้มีลักษณะเป็นเนื้อครีม แล้วน้ำมาป้ายลงบนครีมที่เตรียมไว้ จากนั้นรอประมาณ 5 นาที สังเกตุการเปลี่ยนแปลง หาครีมเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล แสดงว่ามีไฮโดรควีโน
เสตียรอยด์ ทดสอบโดนการทาครีมต้องสงสัยลงบนใต้ท้องแขน จากนั้นแปะพลาสเตอร์ติดแผลทับลงไปเว้นส่วนที่ไม่ได้ทาครีมไว้ ทิ้งไว้ประมาณ 6 ชม. แล้วแกะออก หากสีผิวตรงที่ทาครีมซีดกว่าส่วนที่ไม่ได้ทาแสดงว่ามีสารเสตียรอยด์



การทดสอบปรอทจากชุดทดสอบกรมวิทย์



Creative Commons License

1 ความคิดเห็น: